เรื่องไม่ลับ ฉบับญี่ปุ๊น...ญี่ปุ่น

Last updated: 4 ก.ย. 2566  |  3162 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เรื่องไม่ลับ ฉบับญี่ปุ๊น...ญี่ปุ่น

Japan เป็นชื่อเรียกที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกประเทศญี่ปุ่น
แต่จริง ๆ แล้วชาวญี่ปุ่นนั้นจะเรียกประเทศของตนเองว่า “Nippon” (นิปปง) หรือ “Nihon” (นิฮง)
โดย Nippon จะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการมากกว่า
และ 2 คำนี้หมายถึง “ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย”
ซึ่งเป็นคำเรียกประเทศญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคยนั่นเอง
ส่วนคำว่าญี่ปุ่นที่เราเรียกกันนั้นมาจากคำว่า “ยิดปุ่น” ในภาษาจีนแต้จิ๋วค่ะ
 
 
 
 
สกุลเงิน เหรียญ และธนบัตร

อย่างที่รู้ ๆ กันว่าสกุลเงินของ คือ “เยน” (Yen, 円)
 
ใช้สัญลักษณ์ “¥” ส่วนตัวย่อที่ใช้คือ JPY (Japanese Yen)

ธนบัตรในปัจจุบันจะมี 1,000¥ / 2,000¥ / 5,000¥ / 10,000¥

และเหรียญในปัจจุบันจะมี 1¥ / 5¥ / 10¥ / 50¥ / 100¥ / 500¥
 

★ ความเชื่อเกี่ยวกับเหรียญ ★

ไม่ใช่แค่ที่ประเทศไทยเท่านั้นนะคะที่นิยมพกวัตถุมงคลคู่กาย
 
แต่ชาวญี่ปุ่นก็มีความเชื่อเรื่องนี้เหมือนกัน
 
โดยเฉพาะกับเหรียญ 5 เยน หรือ “โกะเอนดามะ”
 
ส่วนทำไมต้องเป็นเหรียญ 5 เยนนั้น ก็เพราะว่า

1. คำว่า “โกะเอน” (5 เยน) นั้นพ้องเสียงกับคำว่า โกะเอน ที่แปลว่า
“การขอพรจากเทพเจ้า” หรือคำว่า “วาสนา”
จึงมีความเชื่อว่า หากใช้เหรียญนี้ทำบุญที่วัดหรือศาลเจ้า
จะทำให้เข้าใกล้เทพเจ้าได้มากยิ่งขึ้น
และนำพาบุญวาสนามาให้แก่ตนเอง

2. เพราะประเทศญี่ปุ่นไม่มีการทำบุญตักบาตรเหมือนบ้านเรา
แต่จะใช้เหรียญในการทำบุญ
โดยเชื่อว่ามีสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์อยู่
ซึ่งก็คือรวงข้าว นั่นเอง
และยังมีความเชื่ออีกว่า รูตรงกลางของเหรียญ 5 เยน
หมายถึงช่องที่จะทำให้สิ่งเลวร้ายผ่านไปได้
และจะได้พบเจอแต่สิ่งดี ๆ แทน
 
ประชากร

126.8 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี 2560)

ศาสนา

ศาสนาใหญ่ ๆ มี 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาชินโต

ลักษณะภูมิประเทศ
 
มีลักษณะเป็นเกาะ
มีหลัก ๆ  4 เกาะด้วยกัน คือ
 
เกาะฮอกไกโด (Hokkaido) : เกาะที่อยู่ตอนบนสุด
เกาะฮอนชู (Honshu) : เกาะหลัก เป็นที่ตั้งของกรุงโตเกียว
เกาะชิโกกุ (Shikoku) : เกาะที่เล็กที่สุดใน 4 เกาะหลัก
เกาะคิวชู (Kyushu) :  เกาะที่อยู่ตอนล่างสุด
 
ฤดูกาล

ประเทศญี่ปุ่นใน 1 ปี จะแบ่งฤดูกาลออกเป็น 4 ช่วง
 
เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม         คือฤดูใบไม้ผลิ
 

เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม          คือฤดูร้อน
 

เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน      คือฤดูใบไม้ร่วง
 

และเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์   คือฤดูหนาว
 
 
 
★ ฤดูกาลกับการแต่งกาย ★

ฤดูใบไม้ผลิ
 

อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 12–16°C 
ฤดูนี้จะนิยมใส่เสื้อผ้าด้านบนให้อุ่นมากกว่าด้านล่าง
ด้านบนจึงเน้นการใส่เสื้อแบบสวมทับ, เสื้อแจ็คเก็ต
ด้านในจะเป็นเสื้อสเว็ตเตอร์ หรือเสื้อถัก
ส่วนด้านล่างจะเน้นใส่เป็นถุงน่องหนา ๆ หรือ เลกกิ้งผ้าหนา
สีสันของเสื้อผ้าในช่วงนี้เน้นเป็นสีเบจ, น้ำตาล, ดำ เป็นพื้นฐาน
หรืออาจจะมีสีสันตามเทรนด์ของปีนั้น ๆ ไป

ฤดูร้อน
 


อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 25–30°C
(แต่ปัจจุบัน ในบางเขตของญี่ปุ่นก็อาจจะมีอากาศร้อนประมาณ 35–38°C เลยทีเดียว)
เสื้อผ้าในช่วงซัมเมอร์ก็จะเน้นที่สีสันสดใส
ผ้าโปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี
และสีที่เป็นเทรนด์หลักของทุกปีก็น่าจะเป็นสีส้มและสีฟ้า ที่สื่อถึงฤดูร้อน

ฤดูใบไม้ร่วง
 

อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 14–18°C
เป็นฤดูที่อากาศเริ่มกลับมาเย็นอีกครั้งหลังจากฤดูร้อนผ่านพ้นไป
เสื้อผ้าก็ออกจะแนวคล้ายฤดูใบไม้ผลิ
โทนสีก็จะออกเป็นโทนสีคล้าย ๆ กัน
เน้นใส่เป็นเสื้อโค้ทยาวทับ
แฟชั่นของฤดูนี้จะเน้นไปที่สีสันสดใสดูมีชีวิตชีวา
ถือได้ว่าเป็นฤดูแห่งความสุขเลยทีเดียว

 ฤดูหนาว
 


อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 0–10°C
ในฤดูนี้จะหนาวมาก ทุกพื้นที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ
เสื้อผ้าในฤดูนี้จึงจำเป็นจะต้องมีความหนาเป็นพิเศษ
เพื่อให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย
แฟชั่นฤดูนี้จึงเน้นไปที่ไอเท็มที่ให้ความอบอุ่นซะเป็นส่วนใหญ่
เช่น โค้ทมีเฟอร์, ผ้าพันคอ, ถุงมือ, และถุงเท้า
 
 
เรื่องน่ารู้แบบญี่ปุ๊น...ญี่ปุ่น

ปลั๊กไฟ

เป็นแบบขาคู่หัวแบนเท่านั้น
กระแสไฟฟ้าของญี่ปุ่นนั้นอยู่ที่ 110V (น้อยกว่าของประเทศไทยที่ใช้ 220V)
ใครจะไปญี่ปุ่นควรนำหัวแปลงปลั๊กไฟไปด้วยนะคะ
แต่หากใครลืมพกไปก็ไม่ต้องห่วง
เพราะที่พักบางที่มีบริการให้ยืมหัวแปลงปลั๊กไฟ
หรือสามารถหาซื้อปลั๊กไฟที่ญี่ปุ่นได้ตามร้านสะดวกซื้อ
และร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าค่ะ

โทรศัพท์สาธารณะ
การใช้โทรศัพท์สาธารณะ สามารถใช้ได้กับเหรียญ 10 เยน หรือบัตรโทรศัพท์
ถ้าไม่มีเหรียญ 10 เยน ก็ยังมีโทรศัพท์สาธารณะที่สามารถใช้เหรียญ 100 เยนได้
(แต่ถึงใช้ไม่ครบ 100 เยน ตู้ก็ไม่มีเงินทอนให้นะคะ)
ส่วนบัตรโทรศัพท์ หรือบัตรเติมเงิน  มีขายในร้านสะดวกซื้อ

★ รู้หมือไร่ ★โทรศัพท์สาธารณะ โทรฉุกเฉินฟรี!!!!

เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง
จึงจำเป็นต้องมีโทรศัพท์สาธารณะไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน
โดยสามารถโทรได้ฟรี ในกรณี
  เจ็บป่วยกะทันหัน หรือไฟไหม้ กด 119 (รถพยาบาล, รถดับเพลิง)
  เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน กด  110 (ตำรวจ)
  เกิดอุบัติเหตุทางทะเล กด 118 (Japan Coast Guard)

น้ำประปาญี่ปุ่น ดื่มได้
การประปาทั่วประเทศญี่ปุ่นมีการจัดการระบบการประปาและระบบกรองน้ำเป็นอย่างดี
ทำให้น้ำมีคุณภาพดีที่สามารถดื่มได้แบบไม่ต้องกังวลเลย
ดังนั้นถ้าเกิดคอแห้งขึ้นมาระหว่างเที่ยว แค่เปิดน้ำประปาดื่มก็หมดปัญหาค่ะ
 
ความหมายของสีที่มีต่อชาวญี่ปุ่น
 
สีขาว    :    ความสุข, โชคดี
สีฟ้า    :    ความสุข, โชคดี
สีเขียว    :    สมปรารถนา
สีเหลือง    :    ร่ำรวย เงินทอง ธุรกิจ
สีแดง    :    ความสำเร็จ ชัยชนะ
สีชมพู    :    ความรัก, ความสัมพันธ์
สีม่วง    :    สุขภาพ, อายุยืน
สีน้ำตาล    :    เริ่มสิ่งใหม่(ธุรกิจ,เรียน,รัก,งาน)สำเร็จ
สีดำ    :    แคล้วคลาด ปลอดภัย
 
และสีที่ก้ำกึ่ง หรือเป็นสีผสม เช่น
สีส้ม    :    ความหมายของสีแดง และสีเหลือง ผสมกัน
สีเทา    :    ความหมายของสีดำ และสีขาว ผสมกัน
สีทอง    :    ความหมายเดียวกับสีเหลือง
สีเงิน,สีฟ้า    :    ความหมายเดียวกับสีขาว
 
★ รู้หมือไร่ ★
นอกจากนี้ยังสามารถนำสีเข้าไปรวมกับการเลือกของสิ่งอื่น ๆ ได้อีก
เช่น แมวกวักสีทอง
 
 
แมวกวัก : นำเรื่องโชคลาภมาให้
ส่วนสีทอง : นำความร่ำรวย เงินทอง และเกี่ยวกับธุรกิจ
เมื่อรวมกัน จึงหมายถึง แมวกวักนี้จะนำทั้งโชคลาภ, ความร่ำรวย และเงินทองมาให้เรา เป็นต้นค่ะ
 
รู้จักญี่ปุ่นมากขึ้นแล้ว ก็ไปเที่ยวญี่ปุ่นกันสิคะ รออะไรอยู่
จิ้มลิงก์ด้านล่างนี้เลย!!
 
 
  ชมรายการทัวร์ญี่ปุ่น 
 

 ชมบทความอื่นๆ 

 ชอบบทความ เอฟวีนิวทัวร์ ทำยังไงนะ?

1. กดแชร์ส่งต่อ ให้เพื่อนๆ อ่านกันได้ค่ะ
2. อย่าลืม กด Like กด Follow (ติดตาม) กันที่ช่องทาง Facebook, Instagram, Twitter
และ Subscribe ช่อง YouTube ของเราด้วยนะคะ

 02-108-8666     
 
 AVENUE INTER TRAVEL GROUP
  
 
 
 
#ทัวร์เอเชีย #ทัวร์ญี่ปุ่น #รู้รอบเรื่องญี่ปุ่น #ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย #แดนปลาดิบ
#ทัวร์ยุโรป #ทัวร์คุณปั่น #ชำนาญยุโรป #ทัวร์เอเชีย # ทัวร์สุดคุ้ม #รับจัดทัวร์ #รับจัดทัวร์หมู่คณะ #เราชำนาญเส้นทางยุโรปและเอเชีย 

 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้