Holi Festival...โฮลีเฟสติวัล เทศกาลแห่งการสาดสี

Last updated: 9 ก.พ. 2566  |  19022 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Holi Festival...โฮลีเฟสติวัล  เทศกาลแห่งการสาดสี

 
ทำความรู้จักกับเทศกาลโฮลี

 
  
 “เทศกาลโฮลี” เป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่สำคัญมากของอินเดีย ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 9-10 ของเดือนมีนาคม เทศกาลนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “เทศกาลแห่งสีสัน” โดยทุกคนจะสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนาน บ้างก็อาจจะผสมสีเข้ากับน้ำแล้วสาดใส่กัน หรือสาดน้ำเฉยๆ ก็มีค่ะ จะคล้ายๆ กับเทศกาลสงกรานต์บ้านเราเลย เพียงแต่เขาจะนิยมเล่นกันในเวลาเช้าถึงเที่ยงวันก็เลิก แล้วต่างคนต่างกลับบ้านไปอาบน้ำพักผ่อน ไม่เหมือนกับบ้านเราที่จะเล่นกันทั้งวัน พอตกตอนเย็นผู้คนก็จะออกมาพบปะสังสรรค์กัน แจกขนมหวาน และมีการสวมกอดกัน เทศกาลโฮลีจึงถือเป็นเทศกาลแห่งมิตรภาพ มิตรสหายและครอบครัวได้แสดงเห็นถึงการมีไมตรีต่อกันด้วยการสวมกอด ผู้ที่เคยขัดแย้งกันก็จะได้ปรับความเข้าใจและคืนสู่มิตรภาพนั่นเองค่ะ จะคล้ายๆ กับเทศกาลสงกรานต์บ้านเราเลยทีเดียว

    นอกจากที่มีการเล่นน้ำสาดสีกันอย่างสนุกสนานแล้ว ทุกท่านรู้กันหรือไม่คะว่าเทศกาลโฮลียังมีการเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่คำสอนของศาสนาฮินดูเช่นกันค่ะ การเกิดเทศกาลโฮลีชาวอินเดียเชื่อว่าจะเป็นเวลาที่จะเผาไหม้ความชั่วร้าย ในตอนเย็นหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน ชาวบ้านจะรวมตัวกันเพื่อทำพิธีรอบกองไฟ ด้วยการจุดไฟให้ลุกโชนเพื่อถวายและบูชาต่อเทพเจ้าของพวกเขานั่นก็คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ โดยการจุดไฟนั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่และการ เริ่มต้นใหม่ ที่จะมีการเผาสิ่งชั่วร้ายและสิ่งสกปรกให้ออกไปค่ะ
 
 

“ตำนานของเทศกาลโฮลี”
 


  ด้วยความที่ประเทศอินเดียมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีอารยธรรมที่เก่าแก่ เทศกาลโฮลีจึงถูกเชื่อมโยงกับตำนานต่างๆ มากมาย แต่วันนี้เอฟวีนิวทัวร์จะมาเล่าให้ฟังสั้นๆ 2 ตำนานด้วยกันค่ะ ตำนานแรกคือตำนานของ พระเจ้าแห่งอสูรมีพระนามว่า หิรัณยกศิป เขาได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะ ซึ่งต่อมาด้วยความที่ไม่มีใครฆ่าได้ ทำให้เจ้าอสูรหิรัณยกศิปต้องการให้ทุกคนบูชาตนเอง แต่ลูกชายที่ชื่อประหลาด ของเขานั้นกลับบูชาแต่ พระวิษณุ ทำให้เจ้าอสูรหิรัณยกศิปโกรธมาก จึงพยายามที่จะหาวิธีทำให้ลูกตัวเองถึงแก่ความตาย หนึ่งในวิธีนั้นก็คือการหลอกให้ถูกเผาทั้งเป็น โดยให้ลูกชายของเขาเข้าพิธีบูชาไฟพร้อมน้องสาวของตนที่ชื่อโหลิกา นางได้รับพรพิเศษว่าไฟไม่สามารถทำร้ายนางได้ แต่ปรากฏว่าเมื่ออยู่ในกองไฟนางกลับถูกเผาไหม้ ในทางกลับกันลูกชายของเขากลับไม่เป็นอะไรเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะพรที่นางได้นั้นมีเงื่อนไขว่านางต้องเข้ากองไฟคนเดียว สำหรับประหลาดนั้นด้วยการยึดมั่นบูชาถึงพระวิษณุเสมอจึงไม่ถูกเผาไหม้เฉกเช่นเดียวกับน้องสาวของเขา เรื่องนี้จึงทำให้สื่อความหมายว่าการทำพิธีรอบกองไฟและมีการเผาไฟนั้นเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อจะบอกว่าผู้ใดที่ยึดมั่นบูชาพระเจ้าจะไม่เป็นอันตรายและธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ ตำนานที่สอง เล่ากันว่าเป็นเรื่องการเล่นโฮลีอย่างสนุกสนานระหว่างพระกฤษณะ กับสาวชื่อราธา เขาเป็นสาวเลี้ยงวัว พระกฤษณะเดิมมีผิวพรรณคล้ำ จึงเกิดการอิจฉาสาวผู้นี้ที่มีผิวขาวเนียน เลยไปถามแม่ว่าทำไมผมไม่เกิดมาผิวดีอย่างนางราธา แม่ตอบเพียงว่าเช่นนั้นลูกก็เอาสีไปสาดใส่นางราธาเสียสิ พระกฤษณะเลยจึงทำอย่างที่แม่บอก เกิดการสาดสีกันไปมา จนกลายเป็นเทศกาลโฮลีทุกวันนี้ และที่เล่ามาก็เป็นตำนานเกี่ยวกับเทศกาลโฮลีที่เล่าสืบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาจวบทุกวันนี้

 

ผงสีที่ใช้ในเทศกาลโฮลีทำจากอะไร?
 
 

     ผงสีที่ใช้เล่นกันในเทศกาลโฮลีนั้นมีความติดแน่นทนนานมาก หากติดเสื้อผ้าก็แทบไม่มีวันซักออก (ซึ่งในวันเทศกาลโฮลีเขาตั้งใจไม่ซักเสื้อที่ใส่วันนี้อยู่แล้ว) ส่วนที่ติดตามตั ว หน้า ผมนั้นก็ต้องสระต้องล้างกันเป็นวันๆ หลายคนอยากรู้ว่า สีพวกนี้ทำจากอะไร นั่นก็คือ ทำมาจาก ใบหรือดอก ของพืชหลากหลายชนิด เช่น สะเดา ขมิ้น หญ้าฝรั่น ใบมะตูม จึงไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดในการเอามาเล่นสาดสีกันนั่นเองค่ะ แต่ด้วยความที่ปัจจุบันนี้มีคนนิยมเล่นเทศกาลนี้กันมากขึ้น ทำให้การสกัดสีจากพืชก็ค่อยๆ จางหายไป เหลือเพียงการใช้แป้งที่ใช้ทำอาหาร ผสมน้ำ+สีผสมอาหารนั่นเองค่ะ
 

“สถานที่ฉลองเทศกาลโฮลี”
 


     เทศกาลโฮลีมีสถานที่ต่างๆ มากมายที่มีการจัดงานฉลอง มีทั้งงานสังสรรค์รื่นเริงมีความสนุกสนานวันนี้เอฟวีนิวทัวร์ยกตัวอย่างมาให้ถึง 3 สถานที่จะมีที่ไหนบ้างไปชมกันค่ะ

1. เดลี(Delhi) เมืองเดลี จะได้พบเห็นการเฉลิมฉลองได้ทุกที่ตามท้องถนนและสถานที่สาธารณะต่างๆ และทุกที่ก็สนุกกันอย่างไม่ยั้ง แถมยังมีดนตรีและการเต้นรำกันอย่างครื้นเครงด้วย และในเมืองเดลียังมีสถานที่ห้ามพลาดหากต้องการไปฉลองเทศกาลโฮลีให้ได้นั่นก็คือ เขตปาฮาร์กานจ์ ถือเป็นเขตช้อปปิ้งอันคึกคักซึ่งเต็มไปด้วยคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว ช่วงเทศกาลโฮลีจะมีการเปิดเพลงเต้นรำกันทั้งวัน แถมมีผงสีให้คุณละเลงเล่นแบบไม่ต้องกลัวหมดเลยทีเดียว

2. รัฐปัญจาบ(Panjab) เมืองปัญจาบ ในเมืองนี้จะมีงานเฉลิมฉลองประจำปีนี้จัดขึ้นหลังจากวันโฮลี และเรียกเทศกาลนี้ว่า Hola Mohalla แทนที่จะเล่นสาดสีใส่กัน ชาวปัญจาบจะโชว์ความแข็งแรงของร่างกายด้วยการแสดงฟันดาบ การแสดงศิลปะป้องกันตัว ถึงแม้การฉลองโฮลีที่ปัญจาบ จะไม่ได้โดดเด่นเรื่องการเล่นสาดสี แต่เรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนั้นอลังการไม่แพ้ที่ไหนแน่นอน ไม่พอค่ะยังมีการเดินขบวนไปตามท้องถนนด้วยชุดสีน้ำเงินสดและผ้าโพกหัวขนาดใหญ่เต็มยศสวยงามอลังการมากค่ะ

3. รัฐเบงกอลตะวันตก(West Bengal) ใน รัฐเบงกอลตะวันตก ก็มีการฉลองกันตามท้องถนน พร้อมด้วยการเดินพาเหรดอันคึกคัก มีการเต้นรำแบบพื้นเมือง เทศกาลนี้ยังเรียกว่าเทศกาล Basant Utsav ซึ่งหมายถึงเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เป็นช่วงเวลาที่หนุ่มสาวมาร้องเพลงเต้นรำเพื่อต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ทุกคนต่างแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าหลากสีสันของฤดูกาลนี้และสวมมาลัยดอกไม้หอม อีกทั้งมีการแห่รูปปั้นพระกฤษณะและนางราธาไปตามท้องถนนเผื่อเป็นการบูชา ท่ามกลางการเล่นสาดสีของผู้ที่มาร่วมงานเทศกาล


  เป็นยังไงกันบ้างคะกับเทศกาลโฮลี มีทั้งกิจกรรม การเฉลิมฉลอง การเล่นน้ำสาดสีกันน่าสนุกมากเลยใช่ไหมล่ะคะ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ทุกท่านได้ลองไปเที่ยวเล่นในช่วงเทศกาลโฮลีกันนะค้า



ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก Unsplash
 
 
 
 
 ชมบทความอื่นๆ 
 
 

 ชอบบทความ เอฟวีนิวทัวร์ ทำยังไงนะ?
 1. กดแชร์ส่งต่อ ให้เพื่อนๆ อ่านกันได้ค่ะ
2. อย่าลืม กด Like กด Follow (ติดตาม) กันที่ช่องทาง Facebook, Instagram, Twitter และ Subscribe ช่อง YouTube ของเราด้วยนะคะ
 
 02-108-8666  

 
 
 
AVENUE INTER TRAVEL GROUP
 
 
 
  
 
 
#เทศกาล #เทศกาลโฮลี #อินเดีย #สงกรานต์อินเดีย #สาดสี #สีสัน #สาดน้ำ #ทัวร์สุดคุ้ม #รับจัดทัวร์ #รับจัดทัวร์หมู่คณะ #เราชำนาญเส้นทางยุโรปและเอเชีย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้